วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  19 กรกฎาคม 2556

ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกรียน 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง

การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะของภาษา

ธรรมชาติของเด็ก

- เด็กสนใจ อยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบๆ ตัว

- ช่างสังเกต ช่างซักถาม

- มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ

- ชอบเรียนรู้สิ่งๆ ใหม่ๆ

- เลียนแบบคนรอบข้าง

การสอนแบบธรรมชาติ

- เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือทำ

-เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมที่เด็กทำ การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสลงมือทำ

-สอนในสิ่งที่เด็กกสนใจ

-สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน

-ไม่บังคับเด็ก

หลักการสอนแบบภาษาธรรมชาติ ต้องคำนึงถึง

-การจัดสภาพแวดล้อม

-การสื่อสารที่มีความหมาย เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์จริง อ่านและเขียน อย่างมีจุด

มุ่งหมาย

-การเป็นแบบอย่าง ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก

-การตั้งความหวัง  ครูต้องเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่าน เขียนและเด็กสามารถทำได้

-การคาดคะเน ครูไม่ควรคาดหวังเด็กว่าเด็กต้องอ่าน เขียน ได้ท่ากับผู้ใหญ่

- การใช้ข้อมูลย้อนกลับ  ตอบสนองความพยายามของเด็กในการใช้ภาษา ยอมรับการอ่าน เขียนของ

เด็ก

-การยอมรับนับถือ ควรให้เด็กเลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจไม่บังคับเด็ก

-การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ

บทบาทของครู

-ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน

-ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน เขียน

-ครูควรยอมรับความไม่ถูกของเด็ก

-ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

" การเรียนในคาบนี้ทำให้รู้ถึงการสอนเด็กภาษาแบบธรรมชาติ ซึ่งการสอนแบบนี้เราไม่ควรไปบังคับให้

เด็กทำตามสิ่งที่เราอยากให้ทำ แต่จะเป็นการปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมที่เด็กแต่ละคนสนใจ และให้ความ

สำคัญกับตัวเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก "






บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  12 กรกฎาคม 2556

ครั้งที่ 5  เวลาเรียน  08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปสิ่งที่ตัวเองรักมากที่สุดในวัยเด็กมาคนละหนึ่งรูป สิ่งที่ดิฉันรักมาก

ที่สุดในวัยเด็กและเป็นการ์ตูนที่ชอบมาก คือ Piglet ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่มีสีชมพูแล้วสีชมพูเป็นสีที่ชอบ

มากๆ ที่สุดเลยชอบตัวการ์ตูนตัวนี้มาก 




เสร็จแล้ววันนี้อาจารย์ได้อธิบายเรื่อง องค์ประกอบของภาษา

อาจารย์พูดถึงองค์ประกอบของภาษานั้นมีอะไรบ้าง สามารถแปลได้หลายความหมาย ภาษามีความ

สำคัญมากในการดำรงชีวิต  และรู้ถึงแนวคิดนักการศึกษา

1 กลุ่มพฤติกรรมนิยม เช่น

- ทฤษฎีการเรียนรู้ของ สกินเนอร์ ซึ่งมีแนวคิดคือ  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษา ให้ความสำคัญกับสิ่ง

เร้าทั้งทางบวก-ลบ

-ทฤษฎีการเรียนรู้ของ วสัน จะเป็นทฤษฎีแบบเงื่อนไขคลาสสิก คือ การวางเงื่อนไขให้เด็ก เป็นสิ่งที่

กระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมดี

นักพฤติกรรมนิยมนั้นเชื่อว่า

-ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์

-การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม

-เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา

-เด็กจะสังเกตและเรียนรู้พฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง

-เมื่อเด็กได้รับแรงเสริมเด็กจะทำตาม

2.แนวคิดพัฒนาการสติปัญญา

- Piaget ได้กล่าวไว้ว่า เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภาษาเป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงพฤติกรรมเด็ก

-Vygotsky ได้กล่าวไว้ว่า สังคมรอบๆตัวเด็กมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาเด็ก

3.แนวคิดเชื่อว่าความพร้อมทางร่างกาย

- Arnold Gesell เน้นความพร้อมทางด้านร่างกาย ความพร้อมวุฒิภาวะ เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทาง

ด้านร่างกายได้เร็ว เด็กบางคนอาจมีปัญหาทางอวัยวะบางส่วนของร่างกายในทางภาษา

4. แนวคิดภาษาติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด

-Noam Chomsky ภาษาเป็นกระบวนการเกิดขึ้นกับมนุษย์ การรับรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ มนุษย์เกิดมา

โดยมีศักยภาพในการเรียนภาษามาตั้งแต่เกิด

"การเรียนวันนี้ทำให้รู้ถึงแนวคิดของนักทฤษฎีของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป"





บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  5 กรกฎาคม 2556

ครั้งที่  4  เวลาเรียน  08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน  08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

      
     วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมารายงานเกี่ยวกับนักทฤษฎีปฐมวัยที่ได้มอบหมายให้คาบที่แล้วมี

ทั้งหมด 9 กลุ่ม คือ

 1 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ ขั้นที่สูงกว่า                              

3. พัฒนาการทางสติปัญญาอายุแรกเกิด-2ปี

4. พัฒนาการทางสติปัญญาอายุ2-4ปี

5. พัฒนาการทางสติปัญญาอายุ5-6ปี

6. ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

8. ทฤษฎีพัฒนาการทางภาษา

9.องค์ประกอบภาษาด้านภาษา


      เพื่อนๆ แต่ละกลุ่มมีรูปแบบออกมารายงานที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม มีวีดีโอประกอบการนำเสนอ

ทำให้เห็นภาพมากขึ้น  เข้าใจเนื้อหามากขึ้น 





วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู็สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  28  มิถุนายน  2556

ครั้งที่ 3  เวลาเรียน  08.30 -12.20 น.

เวลาเข้าสอน  08.30 น. เวลาเข้าเรียน  08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


      วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากที่มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมรับน้อง เลยงดการเรียนการสอน 1 วัน

แต่ดิฉันไม่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องเนื่องจากไม่สบายเป็นไข้หวัดเลยกินยานอนพักผ่อนอยู่บ้านค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  21 มิถุนายน 2556

ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


        วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง ภาษา

ภาษา หมายถึง  การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี

4. ภาษาเป็นเครื่องมือจรรโลงใจ

ทักษะภาษา

- การฟัง

- การพูด

- การอ่าน

- การเขียน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget

การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการพัฒนาภาษาและสติปัญญา 2 องค์ประกอบ

- การดูดซึม  เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตัว
เอง

- การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เป็นกระบวนการควบคู่กับการดูดซึม  โดยปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว

ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ

" เมื่อการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล  กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง"

Piaget  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ใช้ภาษาดังนี้

1. ขั้นพัฒนาการทางประสาทสัมผัส  (0-2 ปี)

เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส เด๊กเรียนรู้คำศัพท์จากธรรมชาติบุคคลครอบครัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา

2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (2-4 ปี)

เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร  เล่นบทบาทสมมุติ  การเล่าเรื่อง  แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บักทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  14 มิถุนายน 2556

ครั้งที่ 1  เวลาเรียน  08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน  08.30  เวลาเรียน  08.30   เวลาเลิกเรียน  12.20


          อาจารย์ได้แนะนำชื่อของอาจารย์ ได้บอกถึงข้อตกลงในการเรียนวิชานี้  ได้อธิบายถึงความหมาย

ของคำว่าการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  แลัวอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่ม  

กลุ่มละ 3 คน  ทำแผงผังความคิดเกี่ยวกับคำว่าการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ตามความ

คิดตัวเองภายในกลุ่ม เสร็จแล้วอาจารย์ก็สอนวิธีการทำบล็อก


          งานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำในวันนี้คือ ให้นักศึกษากลับไปทำบล็อกของแต่ละคนมา  แล้วนำ

งานกลุ่มที่สั่งให้ทำในวันนี้นำกลับไปลงบล็อกของตัวเอง









แผงผังความคิด